วารสารโรงพยาบาลหนองคาย

วารสารโรงพยาบาลหนองคาย
JOURNAL OF NONGKHAI HOSPITAL

Y2024-82 การพัฒนารูปแบบการพยาบาล เพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด ของผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่มีภาวะกระดูกหัก หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลกุมภวาปี

PDF
  • เผยแพร่แล้ว
    7 มี.ค. 2567 14:22 น.
  • คำสำคัญ
    พัฒนารูปแบบการพยาบาล, ลิ่มเลือดอุดตันในปอด, ผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์

นางลัดดาวัลย์ ลุนสะแกวงษ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาล เพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาล เพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด 3) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ ปัญหาและความต้องการการใช้รูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด ของผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่มีภาวะกระดูกหัก หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลกุมภวาปี
รูปแบบและวิธีวิจัย : วิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้ 1) ระยะศึกษาสภาพการณ์ ปัญหาและความต้องการ ได้แก่ จากการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลัง 3 ปี อุบัติการณ์การเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด และทบทวนแนวทางการดูแลภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอดของพยาบาลวิชาชีพในหน่วยงาน 2) ระยะพัฒนารูปแบบการพยาบาล เพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด ประกอบด้วย การคัดกรอง ป้องกัน บันทึก และจัดการ 3) ระยะศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาล เพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 8 คน และผู้เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลกุมภวาปี ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด จำนวน 34 คน ในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 ตุลาคม 2566 ประเมินจากแบบสอบถามส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้ แบบประเมินความพึงพอใจ และอุบัติการณ์การเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t – test เพื่อใช้ทดสอบสมมติฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา : พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้แนวปฏิบัติทั้งหมดเป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 100 อายุเฉลี่ย 32 ปี ประสบการณ์ในการทำงานในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์มากที่สุด 3 ปี ไม่เคยใช้รูปแบบการพยาบาลและไม่เคยผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง ร้อยละ 100 กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.76 อายุเฉลี่ย 69.50 ปี ส่วนใหญ่อายุ 60-70 ปี ร้อยละ 32.35 มีโรคประจำตัวมากกว่า 1 โรค ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Fracture neck of femur มากที่สุดร่วมกับรับการดึง traction มีดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน ร้อยละ 23.52 และสูบบุหรี่เฉพาะในเพศชาย ผลการประเมิน ระดับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพยาบาลจากพยาบาล 8 คน ที่ปฏิบัติในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยระดับความรู้หลังการใช้รูปแบบการพยาบาลเท่ากับ 9.25 คะแนน สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพยาบาลที่มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.63 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ < 0.05 ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 97.60 พบว่าอยู่ในระดับ มาก ถึง มากที่สุด และจากกการใช้รูปแบบการพยาบาลกับผู้ป่วยตามกลุ่มเป้าหมาย 34 คน ไม่พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด
สรุปผลการศึกษา
การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า รูปแบบการพยาบาลมีความเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นประโยชน์ต่อการประเมินความเสี่ยงและป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอดในกลุ่มผู้ป่วยออร์ปิดิกส์ที่มีภาวะกระดูกหัก เกิดความปลอดภัยกับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา สามารถปฏิบัติได้จริงในกิจกรรมการพยาบาลที่ชัดเจน จึงควรขยายผลการศึกษาเพื่อทดสอบประสิทธิผล ของการใช้รูปแบบการพยาบาลกับกลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้น และขยายระยะเวลาในการศึกษาให้นานขึ้น
การอ้างอิงบทความ
ฉบับ
ประเภทบทความ
เอกสารอ้างอิง

ติดต่อเรา

วารสารโรงพยาบาลหนองคาย

ISSN 1686-4417 (Print)

ISSN 2730-2822 (Online)

โรงพยาบาลหนองคาย

ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 43000

โทรศัพท์ 042-413456-65 ต่อ วิชาการ

Email address : [email protected]