วารสารโรงพยาบาลหนองคาย

วารสารโรงพยาบาลหนองคาย
JOURNAL OF NONGKHAI HOSPITAL

Y2024-83 ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรู้และการพัฒนาทักษะ ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วย โรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่ ที่เข้าเกณฑ์การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลหนองคาย

PDF
  • เผยแพร่แล้ว
    12 มี.ค. 2567 11:16 น.
  • คำสำคัญ
    การส่งเสริมความรู้และการพัฒนาทักษะ พฤติกรรมการดูแลตนเอง ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่

ลักขณา ภูมิเทศ1, คุณัญญา คุณละ2, วริศรา เบ้านู3

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : ภูมิหลัง : โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข ใน พ.ศ. 2564 พบว่ามีคนไทยป่วยโรคข้อเสื่อม มากกว่า 6 ล้านคน สาเหตุจากสภาพอายุที่มากขึ้นเสื่อมตามวัย น้ำหนักตัวที่มากขึ้น ใช้เข่ามากหรือนานกว่าปกติ พฤติกรรมท่าทางไม่ถูกต้องหรือผิดท่า โดยข้อที่เสื่อมมากที่สุด คือ ข้อเข่า(1)เป้าหมายในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น คือ รักษาและบรรเทาอาการปวด ชะลอการดำเนินโรค ป้องกันภาวะแทรกซ้อน เพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหววัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษา เปรียบเทียบผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรู้และการพัฒนาทักษะ ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่ ที่เข้าเกณฑ์การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลหนองคาย ในด้านพฤติกรรมการดูแลตนเอง ด้านความพึงพอใจ หลังได้รับโปรแกรมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมระเบียบวิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) เปรียบเทียบหลังการทดลองระหว่าง 2 กลุ่ม (two group posttest design) ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่ ที่เข้าเกณฑ์การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลหนองคาย ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 ถึง มกราคม 2567 จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 คนและกลุ่มทดลอง 30 ราย คัดเลือกโดยวิธีจำเพาะเจาะจง เครื่องมือประกอบด้วยโปรแกรมการส่งเสริมความรู้และการพัฒนาทักษะ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน Independent t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา : ทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 80.0 กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง อายุเฉลี่ย 65.37 และ 64.23 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่มัธยมศึกษาตอนปลาย รองมามัธยมศึกษาตอนต้น/ปวช. ร้อยละ 43.3 ,40.0 และ 33.3,26.7 ส่วนใหญ่อาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง ในกลุ่มควบคุมร้อยละ 33.3 ,36.7 กลุ่มทดลองร้อยละ 20.0, 43.3 ทั้งสองกลุ่มมีลักษณะท้วม อ้วน อ้วนมาก ในกลุ่มควบคุมร้อยละ 36.7,43.3,10.0 กลุ่มทดลอง ร้อยละ 36.7,46.7,10.0 โรคประจำตัวกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เป็นโรคเบาหวานร้อยละ 60.0,80.0 โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 53.3,56.7 โรคหัวใจร้อยละ 13.3,23.3 ไขมันสูงร้อยละ56.7,53.3 โรคกระดูกสันหลังเสื่อมร้อยละ 30.0,50.0 โรคเส้นเลือดสมองร้อยละ 20.0,26.7 มีพฤติกรรมยืนนานร้อยละ 43.3,46.7นั่งขัดสมาธิหรือพับเพียบขัดสมาธิ ร้อยละ 60.0,63.3 เดินบ่อยร้อยละ 46.7,56.7 ยกของหนัก ร้อยละ 30.0,36.7 เคยได้รับความรู้เรื่องโรคข้อเสื่อมร้อยละ 20.0,53.3 เคยได้รับคำแนะนำบริหารกล้ามเนื้อร้อยละ 36.7,46.7 เคยบริหารกล้ามเนื้อร้อยละ 26.7, 33.3 เมื่อปวดกินยาบรรเทาปวด 5-6 ครั้ง/สัปดาห์ ร้อยละ 30.0,30.0 ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ ร้อยละ 36.7,40.0 ฉีดยาสเตียรอยเข้าข้อ 1-2 ครั้ง/ปี ร้อยละ 63.3 ,70.0 เคยทำกายภาพ 1-4 ครั้ง/สัปดาห์ ร้อยละ 88.3 86.7 ทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะทั่วไปไม่แตกต่างกัน เปรียบเทียบหลังทดลอง พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกลุ่มทดลองอยู่ในระดับสูง สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่อยู่ในระดับต่ำ ( x̄ =3.2933 ,S.D.=.1574 และ x̄ =2.1750 ,S.D.=.2490) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ <.001 ค่าเฉลี่ยคะแนนด้านความพึงพอใจกลุ่มทดลองอยู่ในระดับมาก สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่อยู่ในระดับปานกลาง ( x̄=4.5067,S.D.=.2148 และ x̄=2.833,S.D.=.7260 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ < .001อภิปรายและสรุป : ผลโปรแกรมการส่งเสริมความรู้และการพัฒนาทักษะ ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่ ทำให้พฤติกรรมการดูแลตนเองและความพึงพอใจ ดีกว่าวิธีปกติ สามารถนำไปพัฒนาเป็นทางแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่ ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
รูปแบบและวิธีวิจัย :
ผลการศึกษา :
สรุปผลการศึกษา
การอ้างอิงบทความ
ฉบับ
ประเภทบทความ
เอกสารอ้างอิง

ติดต่อเรา

วารสารโรงพยาบาลหนองคาย

ISSN 1686-4417 (Print)

ISSN 2730-2822 (Online)

โรงพยาบาลหนองคาย

ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 43000

โทรศัพท์ 042-413456-65 ต่อ วิชาการ

Email address : [email protected]