วารสารโรงพยาบาลหนองคาย

วารสารโรงพยาบาลหนองคาย
JOURNAL OF NONGKHAI HOSPITAL

Y2024-84 การศึกษาแนวทางและประสิทธิผลของการใช้สารสกัดน้ำมันกัญชา (หมอเดชา) ในผู้ป่วยระยะประคับประคอง โซนเหนือ จังหวัดหนองคาย

PDF
  • เผยแพร่แล้ว
    28 มี.ค. 2567 21:28 น.
  • คำสำคัญ
    สารสกัดน้ำมันกัญชา, ผู้ป่วยระยะประคับประคอง

จามิกร ใจดี, ศันสนีย์ สมบัติธีระ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา: สารสกัดน้ำมันกัญชา (หมอเดชา) จัดเป็นยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติของประเทศไทย โดยมีสารเททราไฮโดรแคนนาบินอล (THC) 2.0 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร มีฤทธิ์ยับยั้งอาการปวดเรื้อรัง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาแนวทางการรักษาผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์แผนไทย และ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสารสกัดน้ำมันกัญชา(หมอเดชา)ต่อระดับความเจ็บปวด คุณภาพชีวิต คุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยระยะประคับประคองวิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์คลินิกกัญชาทางการแพทย์และกระบวนการให้บริการพร้อมพัฒนาแนวทางการใช้สารสกัดน้ำมันกัญชา (หมอเดชา) ในผู้ป่วยระยะประคับประคอง 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสารสกัดน้ำมันกัญชาต่อคุณภาพชีวิต (EQ-5D-5L), คุณภาพการนอนหลับ (The Pittsburgh Sleep Quality Index,PSQI) และลดความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยระยะประคับประคอง (Edmonton Symptom Assessment System,ESAS) ร่วมกับการประเมินอาการไม่พึงประสงค์ (Naranjo’s alogorithm) ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยระยะประคับประคอง 13 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้าจากโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ, โรงพยาบาลโพธิ์ตาก, โรงพยาบาลสังคมและโรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ เปรียบเทียบก่อนและหลังการรับประทานสารสกัดน้ำมันกัญชา (หมอเดชา) ช่วงเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565-20 กันยายน 2566 โดยเริ่มต้นขนาดรับประทาน 1 หยด ก่อนนอนต่อเนื่อง 0, 2และ 4 สัปดาห์ โดยใช้สถิติ Repeated measure ANOVAผลการวิจัย: จากการศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยระยะประคับประคอง 13 คนเพศหญิง จำนวน 9 คน (ร้อยละ 69.2) ส่วนเพศชาย จำนวน 4 คน (ร้อยละ 30.8) ) โรคประจำตัวของอาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นโรคมะเร็ง จำนวน 12 คน (ร้อยละ 92.3) และ โรคไตวาย จำนวน 1 คน (ร้อยละ 7.7) ผลของการใช้สารสกัดน้ำมันกัญชา(หมอเดชา) พบว่า 1) ระดับอาการปวดและอาการวิตกกังวล (Edmonton Symptom Assessment System,ESAS) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 2) คุณภาพชีวิต (EQ-5D-5L) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) 3) คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น (p<0.001) 4) ไม่ก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง 5) ขนาดและความถี่ในการรับประทานมีแนวโน้มใช้ปริมาณสูงขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ สรุปและข้อเสนอแนะ: แนวทางการใช้สารสกัดน้ำมันกัญชา (หมอเดชา) ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองเพื่อสื่อสารในระดับสหวิชาชีพได้ และสารสกัดน้ำมันกัญชา (หมอเดชา) ขนาด 3 หยด มีประสิทธิผลต่อการลดระดับความเจ็บปวด เพิ่มคุณภาพการนอนหลับและเพิ่มคุณภาพชีวิตในภาพรวมของผู้ป่วยระยะประคับประคองได้
รูปแบบและวิธีวิจัย :
ผลการศึกษา :
สรุปผลการศึกษา
การอ้างอิงบทความ
ฉบับ
ประเภทบทความ
เอกสารอ้างอิง

ติดต่อเรา

วารสารโรงพยาบาลหนองคาย

ISSN 1686-4417 (Print)

ISSN 2730-2822 (Online)

โรงพยาบาลหนองคาย

ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 43000

โทรศัพท์ 042-413456-65 ต่อ วิชาการ

Email address : [email protected]