วารสารโรงพยาบาลหนองคาย

วารสารโรงพยาบาลหนองคาย
JOURNAL OF NONGKHAI HOSPITAL

Y2024-85 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการสำลักในผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับยา รักษาอาการทางจิต ในโรงพยาบาลหนองคาย

PDF
  • เผยแพร่แล้ว
    2 เม.ย. 2567 16:32 น.
  • คำสำคัญ
    แนวปฏิบัติการพยาบาล, การสำลัก, ผู้ป่วยจิตเวช, การพยาบาล

ณัชมนพรรณ ปลื้มรุ่งโรจน์, คณิวรรณ ภูษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : ภูมิหลัง: การประเมินและให้การพยาบาลในผู้ป่วยที่ภาวะเสี่ยงต่อการสำลักในผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับยารักษาทางจิต เป็นบทบาท ที่สำคัญสำหรับพยาบาล ในหอผู้ป่วยจิตเวช แต่ยังพบว่า ไม่มีแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ชัดเจน มีความหลากหลายของการปฏิบัติทางการพยาบาล วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลป้องกันการสำลักในผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับยารักษาอาการทางจิต ในหอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลหนองคาย ระเบียบวิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของ Rosswurm & Larrabee (1999) กลุ่มผู้ร่วมในการพัฒนา คือ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและกลุ่มพยาบาลผู้ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยจิตเวช โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นระยะพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน แนวปฏิบัติการพยาบาล ได้ค่าความสอดคล้อง (CVI) เท่ากับ 3.92 และตรวจสอบความเที่ยงระหว่างพยาบาลผู้ใช้งาน (Inter-rater reliability) ด้วยสถิติ kappa ได้เท่ากับ ร้อยละ 100.00 และตรวจสอบแบบเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ค่าความสอดคล้อง (CVI) เท่ากับ 4.00 ระยะที่ 2 เป็นระยะประเมินความเป็นไปได้ของการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้โดยพยาบาลปฏิบัติการ ได้ค่าเฉลี่ย 9.37 ระยะที่ 3 เป็นระยะประเมินผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่และร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าคะแนนความสามารถการปฏิบัติ โดยใช้ Wilcoxon Signed Ranks Test ร่วมกับการจัดกลุ่มเนื้อหา ผลการศึกษา: แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยเนื้อหา 4 แนวปฏิบัติการพยาบาล หลังพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนความสามารถการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการสำลักแตกต่างจากก่อนพัฒนาแนวปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.05 (p-value<.05) และพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติมีความพึงพอใจหลังการใช้แนวปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (M= 9.17, S.D. 0.75) การอภิปรายผลและสรุปผล : การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในครั้งนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับยารักษาอาการทางจิตที่ชัดเจน มีความเป็นไปได้ และสามารถปฏิบัติการพยาบาลได้จริง ข้อเสนอแนะและอุปสรรคที่พบจากการพัฒนาในเรื่องเตียงผู้ป่วยไม่สามารถปรับระดับศีรษะสูง เนื่องจากบริบทของการปฏิบัติการพยาบาลในหอผู้ป่วยจิตเวช
รูปแบบและวิธีวิจัย :
ผลการศึกษา :
สรุปผลการศึกษา
การอ้างอิงบทความ
ฉบับ
ประเภทบทความ
เอกสารอ้างอิง

ติดต่อเรา

วารสารโรงพยาบาลหนองคาย

ISSN 1686-4417 (Print)

ISSN 2730-2822 (Online)

โรงพยาบาลหนองคาย

ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 43000

โทรศัพท์ 042-413456-65 ต่อ วิชาการ

Email address : [email protected]