วารสารโรงพยาบาลหนองคาย

วารสารโรงพยาบาลหนองคาย
JOURNAL OF NONGKHAI HOSPITAL

Y2024-87 การพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

PDF
  • เผยแพร่แล้ว
    23 เม.ย. 2567 18:26 น.
  • คำสำคัญ
    การพัฒนารูปแบบ, การปฏิบัติงาน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

วุฒิภิวัตน์ คำหงษ์ษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : ภูมิหลัง จากผลการประเมินการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านภาพรวมเขตสุขภาพที่ 8 ในปี พ.ศ. 2561 – 2563 จำนวนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (เกณฑ์ร้อยละ 80.00) คือ ร้อย 97.75, 80.51 และ 81.38 ตามลำดับ (กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 8, 2564 : 18) ส่วนผลการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย พบว่า มีจำนวนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คือ ร้อยละ 94.56, 73.54 และ 71.51 ตามลำดับ ซึ่งพบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหนังมีจำนวนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ในปี พ.ศ. 2561- 2563 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเขตสุขภาพที่ 8 และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ในปี พ.ศ. 2561 – 2563 สอดคล้องกับการเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหนัง พบว่า ผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 62.84 ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคายเพื่อพัฒนาผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พัฒนาแนวทางการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และบริหารจัดการทรัพยากรอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อันเป็นการเชื่อมโยงหนุนเสริม การเพิ่มคุณภาพ และการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพของประชาชน 

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ระเบียบการวิจัย วิจัยนี้เป็นวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กำหนดขั้นตอนดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอนหลัก 1) การศึกษาสภาพและต้องการความจำเป็นในการพัฒนา 2) การสร้างและพัฒนาการพัฒนารูปแบบผลการปฏิบัติงาน 3) การศึกษาผลการใช้การพัฒนารูปแบบผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) และเชิงปริมาณ (Quantitative Method) จากกลุ่มตัวอย่าง คืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลนาหนัง จำนวน 76 คน ผู้ร่วมวิจัยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 76 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 55 คน (ร้อยละ 72.37) มีอายุอยู่ระหว่าง 31 – 40 ปี จำนวน 28 คน (ร้อยละ 36.84) มีสถานภาพสมรสจำนวน 65 คน (ร้อยละ 85.53) มีอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 39 คน (ร้อยละ 51.32) มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท จำนวน 26 คน (ร้อยละ 34.21) และมีระยะเวลาในการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 6 -10 ปี จำนวน 30 คน (ร้อยละ 39.47) ด้านความรู้ค่าเฉลี่ยระดับระดับการปฏิบัติที่มีอยู่จริงในขณะนี้มีเท่ากับ 2.92 และระดับการปฏิบัติที่จำเป็นต้องเท่ากับ 4.05 โดยมีคะแนนเต็ม 5 คะแนนโดยมีค่าสถิติที่เท่ากับ 18.51 มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05 ด้านทักษะ ค่าเฉลี่ยระดับระดับการปฏิบัติที่มีอยู่จริงในขณะนี้มีเท่ากับ 2.60 และระดับการปฏิบัติที่จำเป็นต้องเท่ากับ 3.88 โดยมีค่าสถิติที่เท่ากับ 7.521 มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05 ด้านเจตคติ ค่าเฉลี่ยระดับระดับการปฏิบัติที่มีอยู่จริงในขณะนี้มีเท่ากับ 2.79 และระดับการปฏิบัติที่จำเป็นต้องเท่ากับ 4.06 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนนโดยมีค่าสถิติที่เท่ากับ 7.253 มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05 เมื่อพิจารณาตามรายการประเมินพบว่า ระดับการปฏิบัติที่มีอยู่จริงในขณะนี้กับระดับการปฏิบัติที่จำเป็นต้องมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05 ทุกรายการประเมิน ข้อสรุป การวิจัยการพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ใช้ 3 ขั้นตอน 7 องค์ประกอบ ที่มีความจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

รูปแบบและวิธีวิจัย :
ผลการศึกษา :
สรุปผลการศึกษา
การอ้างอิงบทความ
ฉบับ
ประเภทบทความ
เอกสารอ้างอิง

ติดต่อเรา

วารสารโรงพยาบาลหนองคาย

ISSN 1686-4417 (Print)

ISSN 2730-2822 (Online)

โรงพยาบาลหนองคาย

ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 43000

โทรศัพท์ 042-413456-65 ต่อ วิชาการ

Email address : [email protected]